วรนารี เฉลิม

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กาแล็กซี่แมกเจลแลนใหญ่

กาแล็กซี่แมกเจลแลนใหญ่
กาแล็กซีแมกเจลแลนใหญ่ จะโคจรรอบทางช้างเผือกที่ระยะห่างประมาณ 200,000 ปีแสง เป็นกาแล็กซีแบบไร้รูปทรงหรือมีรูปร่างไม่แน่นอน มีความสว่างมากจนสามารถมองเห็นได้คล้ายกับก้อนเมฆในยามค่ำคืน อยู่ใกล้ขอบฟ้าทิศใต้ เป็นกาแล็กซีที่อยู่ใกล้เราที่สุดกาแล็กซีแอนโดรเมดา มองเห็นอยู่ในบริเวณท้องฟ้าทางเหนือมีรูปร่างแบบกังหัน เหมือนกาแล็กซีทางช้างเผือก กาแล็กซีแอนโดรเมดาอยู่ห่างจากกาแล็กซีทางช้างเผือกของเราไกลประมาณ 2 ล้านปีแสง มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า M31 หรือ NGC 224
กาแล็กซีกลมรี (Elliptical Galaxy)


 
กาแล็กซีรูปกลมรี เป็นกาแล็กซีที่มีลักษณะความสมดุลทางรูปร่างสูง มีทั้งชนิดที่แบนมาก แบนน้อย กลมมาก หรือค่อนไปทางรีมาก บางชนิดก็มีรูปร่างลักษณะเกือบเป็นลูกทรงกลมทีเดียว ตัวอย่างของ
กาแล็กซีก้นหอย (Spiral Galaxy) มีรูปร่างแบบก้นหอย มีแขนโค้งเหมือนลายก้นหอย
หรือกังหัน บางทีจึงเรียกว่า กาแล็กซีกังหัน กาแล็กซีทางช้างเผือกของเรามีรูปร่างแบบก้นหอย


ดาวหาง (Comet)
เชื่อว่าเป็นวัตถุที่เหลือจากการเกิดระบบสุริยะ
เมื่อมาถูกความดันรังสีของดวงอาทิตย์ผลักดันให้ออกไปอยู่ห่างจาก
บริเวณภายนอกของระบบสุริยะ ระยะทาง1-2 ปีแสง
โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงแหวนวงกลมเรียกว่า Oort cloud
ตามความเชื่อของนักดาราศาสตร์ ชาวดัตช์ชื่อว่า แจน เฮนคริกอ็อร์ต


ช่วงประมาณเดือนที่แล้ว วงการดาราศาสตร์คึกคักอีกครั้ง กับการเปิดตัว superstar คนใหม่แห่งฟากฟ้า  นั่นก็คือ ดาวหางโฮล์มส์นั่นเอง เป็นอะไรที่ตื่นเต้นมากๆนะครับ  เพราะอยู่ๆมันก็สว่างขึ้นมาเป็นล้านเท่าซะงั้น  เอาล่ะ วันนี้มารู้จักดาวหางกันให้มากกว่านี้ดีกว่าครับ
ดาวหาง (Comet) เป็นวัตถุหนึ่งในระบบสุริยะของเรา  มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินคือคำว่า Coma ที่แปลว่า “เส้นผม”  สำหรับการอธิบายลักษณะของดาวหางได้ดีที่สุดคงเป็นคำว่า “ก้อนน้ำแข็งสกปรก” เพราะดาวหางประกอบด้วยน้ำแข็ง ก๊าซต่างๆเช่น คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย  นอกจากนี้ยังมีฝุ่นกับหินปะปนอยู่อีกด้วย (เป็นไง สกปรกจริงมั้ยล่ะ)  มีแหล่งกำเนิดอยู่บริเวณนอกระบบสุริยะโน่นแน่ะ ในสมัยโบราณ ผู้คนชอบเปรียบเทียบดาวหางว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคร้าย  เมื่อดาวหางปรากฏครั้งใด  ก็จะนำหายนะมาสู่โลกเสมอ  จริงๆแล้วมันไม่เกี่ยวกันซักกะนิด มันแค่บังเอิญน่ะครับ  แต่ถ้าดาวหางดวงนั้นจะพุ่งมาชนโลก  ที่เขาว่าไว้ก็คงจะเป็นจริงแฮะ
ดาวหางประกอบด้วยองค์ประกอบหลักๆ 3 ส่วนก็คือ
  1. นิวเคลียส (Nucleus) ก็คือก้อนน้ำเข็งที่อยู่ใจกลางดาวหาง
  2. โคมา (Coma)  เป็นกลุ่มก๊าซที่ระเหิดอยู่อย่างหนาแน่น ห้อมล้อมนิวเคลียสไว้
  3. หาง (Tail) หางมีสองชนิดคือ หางฝุ่นและหางไอออน  ส่วนมากที่เราเห็นกันชัดๆนั่นเป็นหางฝุ่นครับ  ส่วนหางไอออนนั้น เกิดจากการเรืองแสงของไอออนบริเวณหัวดาวหาง เมื่อได้รับพลังงานจากลมสุริยะครับ
comet hale bopp thumb ดาวหางคืออะไร
ภาพดาวหางเฮลล์-บ็อบพ์ หางฝุ่นก็คือส่วนที่เป็นสีขาว ส่วนหางไอออนคือสีน้ำเงินครับ
นักดาราศาสตร์จำแนกดาวหางออกเป็น 2 ประเภทครับ  คือดาวหางคาบสั้น (Short Peroid Comet)  มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ต่ำกว่า 200 ปี  และอีกประเภทหนึ่งคือ ดาวหางคาบยาว (Long Period Comet) ที่มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์มากกว่า 200 ปีขึ้นไป  ส่วนมากวงโคจรของดาวหางเป็นรูปวงรี  และไม่ค่อยมีระนาบกันซักเท่าไหร่  แต่ก็มีบางดวงนะครับ ที่วงโคจรไม่ได้เป็นวงรี  แต่เป็นรูปพาราโบลา  เข้ามาหาดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งแล้วก็ออกไป ไม่กลับมาอีกเลย
สิ่งที่ทำให้ดาวหางส่องแสงสว่างขึ้นมาได้  ก็เพราะได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ครับ  ยิ่งเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากเท่าไหร่  หางก็จะยิ่งยาวขึ้นเท่านั้น สำหรับดางหางที่มีชื่อเสียงในอดีต เช่น
image comet thumb ดาวหางคืออะไร   ดาวหาง McNaught ปี 2007 สว่างที่สุดในรอบ 40 ปี
bradfld2e thumb ดาวหางคืออะไร   ดาวหาง Hyakutake ปี 1997
lspn comet halley thumb ดาวหางคืออะไร   ดาวหาง Helley ปี 1986

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ดาวเสาร์

 ดาวเสาร์ (Saturn)  
             ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่มีความสวยงาม จากวงแหวนที่ล้อมรอบ เมื่อดูในกล้องโทรทรรศน์จะเห็นวงแหวน ซึ่งทำให้ดาวเสาร์มีลักษณะแปลกกว่าดาวดวงอื่นๆ ดาวเสาร์มีองค์ประกอบคล้ายดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ก๊าซที่มีลมพายุพัดแรงความเร็วถึง 1,125 ไมล์ต่อชั่วโมง มีขนาดใหญ่รองจากดาวพฤหัสบดี ถ้านับวงแหวนเข้าไปด้วย จะมีขนาดเท่าดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นน้อยที่สุด กล่าวคือมีความหนาแน่นเพียง 0.7 กรัมต่อลูกบาศก์ เซนติเมตร ซึ่งน้อยกว่าความหนาแน่นของน้ำ ดังนั้นหากมีน้ำจำนวนมากรองรับ ดาวเสาร์ก็จะลอยน้ำได้ เนื่องจากดาวเสาร์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 2 เท่าของระยะดาวพฤหัสบดีจากดวงอาทิตย์ จึงใช้เวลานานเกือบ 30 ปีในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ แต่ดาวเสาร์หมุนรอบตัวเองเร็วมาก จึงทำให้โป่งออกทางด้านข้างมากกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่น สามารถสังเกตได้แม้ในภาพถ่ายขนาดเล็ก
 
             วงแหวนของดาวเสาร์เป็นก้อนหินและน้ำแข็งสกปรก กล่าวคือ น้ำแข็งช่วยยึดฝุ่นและก้อนหินสกปรกเข้าด้วยกัน ก้อนน้ำแข็งสกปรกมีขนาดต่างๆ กัน และมีเป็นจำนวนมาก น้ำแข็งสะท้อนแสงดวงอาทิตย์ได้ดี เราจึงเห็นวงแหวนชัดเจน วงแหวนบางมาก และประกอบด้วยวงแหวนจำนวนหลายพันวง แต่สังเกตได้จากโลกเห็นเป็นชั้นๆ ชั้นนอกสุด เรียกว่า วงแหวน A วงสว่างที่สุดอยู่ใกล้ดาวเสาร์เรียกว่า วงแหวน B ช่องว่างระหว่างวงแหวนทั้งสองนี้เรียกว่า ช่องแคสสินี (Cassini Division) ซึ่งตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์ชาวอิตาลิ Giovani Cassini ซึ่งพบวงแหวนนี้เป็นคนแรกในปี 1675 ภายในวงแหวน B มีวงแหวนที่ไม่สว่างชื่อวงแหวน C ภาพจากการถ่ายของยานไพโอเนียร์และวอยาเจอร์แสดงให้เห็นว่า มีวงแหวนมากกว่าสามวง คือมีวงแหวน D ซึ่งมองเห็นเลือนๆ นอกจากนี้ยังมีวงแหวนชั้นนอกที่มีลักษณะแคบๆ เรียกว่าวงแหวน F และวงแหวน G ด้านหลังของวงแหวนทั้งสองนี้เป็นวงแหวนขนาดกว้าง แต่มีความเลือนคือ วงแหวน E วงแหวนทั้งหมดจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 375,000 ไมล์ วงแหวนแต่ละวงบางมากเมื่อเทียบกับความกว้าง เปรียจประดุจดังแผ่นกระดาษ ดังนั้นเมื่อด้านข้างของวงแหวนหันมาทางโลก เราจึงมองไม่เห็นวงแหวนของดาวเสาร์ วงแหวนดาวเสาร์เอียงจากระนาบทางโคจรของดาวเสาร์รอบดวงอาทิตย์เป็นมุม 27 องศา เมื่อดูจากโลกจึงเห็นวงแหวนไม่เหมือนกันในแต่ละตำแหน่ง ถ้าวงแหวนหันด้านข้างมาทางโลกเราจะมองไม่เห็นวงแหวนเลย แต่จะเห็นเป็นเส้นสีดำพาดผ่านดาวเสาร์ ยานอวกาศวอยเอเจอร์ 1 และวอยเอเจอร์ 2 ที่ผ่านเฉียดดาวเสาร์พบว่า วงแหวนของดาวเสาร์ด้านที่ได้รับแสงแดดมีอุณหภูมิ -180 องศาเซลเซียส ส่วนด้านมืดอุณหภูมิต่ำกว่านี้เป็น -200 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำขนาดนี้น้ำแข็งจะไม่ระเหยหรือกลายเป็นไอเลย วงแหวนที่เห็นจากโลกเป็น 3 ชั้นนั้น แท้ที่จริงประกอบด้วยวงแหวนเล็กๆ จำนวนเป็นล้านๆ วง วงแหวนก่อรูปร่างอย่างไรและเมื่อไร? วงแหวน C และ B ได้ก่อตัวเมื่อดาวเสาร์หรือดาวเคราะห์อื่นๆ ในระบบสุริยะเริ่มเกิดขึ้น ดาวเคราะห์ก่อตัวด้วยแก๊ซและอนุภาคที่ลอยในอวกาศ วงแหวนอาจก่อตัวโดยอนุภาคน้ำแข็งที่ตกค้าง วงแหวน A อาจเป็นเศษที่เหลือของดาวบริวารที่เป็นน้ำแข็งของดาวเสาร์ ประมาณ 10 ล้านปีมาแล้ว ดวงจันทร์อาจแตกแยกออกจากกัน ชิ้นส่วนทั้งหมดของดวงจันทร์อาจกระจัดกระจายเป็นวงแหวนกว้าง ในขณะที่มันหมุนรอบดาวเคราะห์
             ก่อนปี 1980 มีคนคิดว่าดาวเสาร์มีดาวบริวารสิบดวง หลังจากนั้นยานวอยาเจอร์ ได้พบดาวบริวารเพิ่มขึ้นอีกหลายดวง ปัจจุบันเราคิดว่าดาวเสาร์มีดาวบริวารอื่นๆ นอกเหนือจากดาวบริวารเหล่านี้ ดาวบริวารชั้นในประกอบขึ้นด้วยน้ำแข็ง และบางดวงก็ประกอบด้วยหิน มันปกคลุมด้วยหินและรอยแตกดาวบริวารชั้นในบางดวงมีการหมุนที่ผิดปกติ ดาวบริวารที่อยู่ใกล้ที่สุดคือ ดาว Inner Shepherd และดาว Outer Shepherd มันจะหมุนรอบแต่ละข้างของวงแหวน F แรงโน้มถ่วงของดาวบริวารมีผลกระทบต่อส่วนของวงแหวน F มันทำให้ลอนบิดเบี้ยวเป็นรูปเกลียวที่ประหลาด มีกลุ่มดาวบริวารชั้นในที่หมุนรอบดาวเสาร์เช่นเดียวกัน บ้างก็หมุนในระยะห่างกัน บ้างก็หมุนใกล้กัน บ้างก็หมุนไปข้างหน้าหรือข้างหลังของดาวอื่น แต่มันไม่ปะทะกัน    ดาวบริวารชั้นนอกดวงแรกของดาวเสาร์ มีชื่อเรียกว่า Titan เป็นดาวบริวารที่ใหญ่เป็นที่สองในระบบสุริยะ ดาว Titan มีชั้นบรรยากาศ มันเป็นสิ่งผิดปกติที่ดาวบริวารถูกล้อมรอบด้วยชั้นของแก๊ซเหมือนกับดาวเคราะห์ ยานวอยาเจอร์ 1 ได้เข้าไปใกล้ดาว Titan เมื่อมันบินผ่านดาวเสาร์ในปี 1980 ภาพที่ถูกส่งกลับมาแสดงให้เห็นว่าถูกปกคลุมด้วยหมอกสีส้ม แต่ไม่สามารถมองเห็นพื้นผิวได้เลย บรรยากาศประกอบด้วยแก๊ซไนโตรเจนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นแก๊ซที่สำคัญในบรรยากาศของโลก เรามีแก๊ซออกซิเจนในโลกด้วย แต่ดาว Titan ไม่มีแก๊ซเหล่านี้ แต่มันมีแก๊ซมีแทนซึ่งเป็นแก๊ซธรรมชาติที่เราใช้สำหรับการหุงต้มในโลก หมอกเกิดจากการตกผลึกของของแหลวสีส้มในบรรยากาศของดาว Titan ของแหลวที่มีสีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อรังสีจากดวงอาทิตย์กระทบกับแก๊ซ พื้นผิวของดาว Titan มีความเย็นมาก เป็นที่เข้าใจกันว่าพื้นผิวอาจปกคลุมด้วยมหาสมุทรของมีเทนแหลว หรือหิมะสีน้ำตาลที่ประกอบขึ้นจากมีเทน ภายในดาว Titan ประกอบด้วยน้ำแข็งซึ่งมีแกนเป็นหิน นักดาราศาสตร์ต้องการค้นหาสิ่งต่างๆ ให้มากกว่านี้เกี่ยวกับดาว Titan ยานอวกาศอาจไปถึงที่นั่นในศตวรรษหน้า มันเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ที่ครั้งหนึ่งโลกของเรามีสภาพคล้ายดาว Titan ถัดจากดาว Titan จะมีบริวารอีกสามดวง ดาวดวงแรกคือ Hyperion ซึ่งเป็นดาวขนาดเล็กประกอบด้วยน้ำแข็งมีรูปร่างคล้ายถั่ว ดาว Hyperion อาจเป็นซากที่เหลือของดาวบริวารดวงใหญ่ที่แตกกระจายออกมา ถัดจากดาว Hyperion คือดาว Iapetus ดาวบริวารประหลาดดวงนี้จะมืดในด้านหนึ่งและสว่างอีกด้านหนึ่ง โดยสีที่เกิดจากหินซึ่งมาจากภายในดาว ดาวบริวารที่อยู่ชั้นนอกที่สุดเรียกว่า Phoebe มันจะหมุนไปรอบๆ Phoebe อาจจะเป็นดาวเคราะห์น้อยซึ่งถูกดึงดูดโดยแรงโน้มถ่วงของดาวเสาร์  


 

 
ภาพดาวเสาร์


 


           ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่รู้จักกันมาตั้งแต่ก่อนยุคประวัติศาสตร์ กาลิเลโอได้ใช้กล้องส่องทางไกลสังเกตดาวเสาร์เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2153 และพบลักษณะที่เป็นวงรี คล้ายกับเป็นดาวเคราะห์ที่มีหูสองข้าง จนกระทั่งในปี พ.ศ.2202 คริสเตียน ฮอยเกนส์ พบว่าเป็นวงแหวนของดาวเสาร์  เป็นที่เชื่อกันว่าดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ ที่มีวงแหวน จนกระทั่งเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้เองที่ได้มีการค้นพบวงแหวนบางๆ รอบดาวยูเรนัส ดาวพฤหัสบดีและดาวเนปจูน

           ดาวเสาร์ถูกเยี่ยมเยือนครั้งแรกโดย ยานไพโอเนียร์ 11 ในปี พ.ศ.2522 ตามด้วยวอยเอเจอร์ 1 วอยเอเจอร์ 2 และยานแคสสินีในปี พ.ศ.2547

           ดาวเสาร์มีองค์ประกอบคล้ายกับดาวพฤหัสบดี คือประกอบไปด้วย ไฮโดรเจน 75% ฮีเลียม 25% ปะปนไปด้วยน้ำ มีเทน แอมโมเนียเพียงเล็กน้อย   โครงสร้างภายในของดาวเสาร์ มีลักษณะคล้ายคลึงกับของดาวพฤหัสบดี ซึ่งมีแกนกลางที่เป็นหินแข็งห่อหุ้มด้วยแมนเทิลชั้นในที่เป็นโลหะไฮโดรเจนและแมนเทิลชั้นนอกที่เป็นไฮโดรเจนและฮีเลียมเหลว

           แถบที่มีความเข้มต่างๆ กันที่ปรากฏบนดาวเสาร์เกิดจากการหมุนรอบตัวเองที่เร็วมากของดาวทำให้เกิดการ หมุนวนของชั้นบรรยากาศที่มีอุณภูมิแตกต่างกันจึงปรากฏเป็นแถบเข้มและจางสลับกันไป
วงแหวนดาวเสาร์
           จากภาพวงแหวนดาวเสาร์ ดูคล้ายกับว่าจะมีลักษณะเป็นแผ่น แท้ที่จริงแล้วประกอบด้วยอนุภาคจำนวนมหาศาล ซึ่งมีวงโคจรอิสระและมีขนาดตั้งแต่เซนติเมตรไปจนหลายร้อยเมตร ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยน้ำแข็ง ปะปนอยู่กับเศษหินเคลือบน้ำแข็ง    วงแหวนของดาวเสาร์บางมาก แม้จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยาวถึง 250,000 กิโลเมตร แต่มีความหนาไม่ถึง 1.5 กิโลเมตร

           วงแหวนแต่ละชั้นมีชื่อเรียกตามอักษรภาษาอังกฤษ  เช่น  วงแหวนสว่าง (A และ B) และวงสลัว (C) สามารถมองเห็นได้จากโลก  ช่องระหว่างวงแหวน  A และ B รู้จักในนาม "ช่องแคสสินี"  (Cassini Division)    เรายังไม่ทราบถึงต้นกำเนิดของวงแหวนดาวเสาร์ บางทีมันอาจกำเนิดจากการแตกสลายของบริวารที่มีขนาดใหญ่กว่า
ดวงจันทร์บริวารของดาวเสาร์
           ดาวเสาร์มีดวงจันทร์บริวารอย่างน้อย 30 ดวง  ดวงจันทร์บริวารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ ไททัน มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธ   ไททันมีชั้นบรรยากาศที่ประกอบด้วยก๊าซไนโตรเจนเป็นส่วนใหญ่  คล้ายคลึงกับชั้นบรรยากาศของโลก  ดังนั้นนักดาราศาสตร์จึงสนใจที่จะศึกษาดวงจันทร์ไททันอย่างละเอียดเพื่อที่จะได้นำมาเปรียบเทียบกับโลก

           ดวงจันทร์บริวารที่มีขนาดรองจากไททันได้แก่  รี ดิโอนี ไออาเพตุส เททิส เอนเซลาดุส และมิมาส  ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยน้ำแข็งและมีหินผสมอยู่เล็กน้อย







ดาวเสาร์ (Saturn)

มวล (กิโลกรัม) มวล (โลก=1)
5.688 x 1026
95.181
รัศมีตามแนวศูนย์สูตร (กิโลเมตร) รัศมีตามแนวศูนย์สูตร (โลก =1)
60,268
9.4494
ความหนาแน่นเฉลี่ย (กรัม/ลูกบาศก์เซ็นติเมตร)
0.69
ระยะห่างเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ (กิโลเมตร) ระยะห่างเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ (โลก =1)
1,429,400,000
9.5388
คาบการหมุนรอบตัวเอง (วัน)
10.233
คาบการหมุนรอบดวงอาทิตย์ (วัน)
29.458
ความเร็วของการหมุนรอบดวงอาทิตย์เฉลี่ย (กิโลเมตร/วินาที)
9.67
แรงดึงดูดที่พื้นผิวบริเวณศูนย์สูตร (เมตร/วินาที2)
9.05
อุณหภูมิที่พื้นผิวเฉลี่ย (เซลเซียส)
-125
ความดันบรรยากาศ (บาร์)
1.4
ส่วนประกอบของบรรยากาศ
ไฮโดรเจน
ฮีเลียม
97%
3%
ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นดวงที่หกและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสอง
ในตำนานของชาวโรมัน Saturn เป็นเทพแห่งการเกษตร หรือในตำนานของกรีกเรียกว่า cronus
ดาวเสาร์เป็นที่รู้จักตั้งแต่ช่วงก่อนประวัติศาสตร์ Galileo เริ่มสังเกตเป็นครั้งแรกโดยใช้กล้องโทรทรรศน์ในปี 1610 วงแหวนของดาวเสาร์เป็นลักษณะเฉพาะที่รู้จักกันดีในระบบสุริยะจนกระทั่ง ปี 1977 ถึงได้มีการค้นพบวงแหวนของดาวยูเรนัส ดาวพฤหัส และดาวเนปจูน
ดาวเสาร์ดูค่อนข้างแบนเมื่อมองจากกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางตามแนวศูนย์สูตรและตามแนวขั้วต่างกันประมาณ 10% (120,536 km vs 108728 km) ซึ่งเป็นผลเนื่องจากการหมุนอย่างรวดเร็วและสถานะที่เป็นของเหลว ดาวเสาร์หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 10 ชั่วโมง 39 นาที ดาวกลุ่มก๊าซทั้งหลายก็มีลักษณะค่อนข้างแบนเช่นกัน แต่ไม่มากเท่ากับที่ดาวเสาร์เป็น
ดาวเสาร์เป็นดาวที่มีความหนาแน่นน้อย มีค่าความถ่วงจำเพาะประมาณ 0.7 ซึ่งน้อยกว่าน้ำ
ดาวเสาร์ประกอบด้วยไฮโดรเจน 75% และ ฮีเลียม 25% มีร่องรอยของน้ำ มีเทน แอมโมเนีย และ หิน ซึ่งมีส่วนประกอบคล้ายกับดาวพฤหัส และเนบิวลาเริ่มแรก
โครงสร้างภายในดาวเสาร์มีลักษณะคล้ายดาวพฤหัส ซึ่งมีแกนกลางเป็นหิน มีชั้นของ liquid metallic hydrogen และชั้นของ molecule hydrogen และพบร่องรอยของน้ำแข็ง
ที่แกนกลางของดาวเสาร์มีอุณหภูมิสูงประมาณ 12,000 K ดาวเสาร์ปลดปล่อยพลังงานสู่จักรวาลมากกว่าพลังงานที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ พลังงานส่วนเกินนี้ได้จากกระบวนการ Kelvin-Helmholtz เช่นเดียวกับทีเกิดในดาวพฤหัส แต่พลังงานนี้ไม่พอที่จะทำให้ดาวเสาร์เกิดการเรืองแสง ดังนั้นจึงต้องมีกระบวนการซึ่งอาจเกิดจากฝนฮีเลียมที่เกิดในดาวเสาร์
แถบสีที่สังเกตเห็นได้บนดาวพฤหัสก็พบได้บนดาวเสาร์ แต่มีความเลือนลางมากกว่า แต่มีความกว้างมากอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร ยังพบลักษณะคล้ายจุดแดงยักษ์และลักษณะอื่นๆบนดาวเสาร์ที่คล้ายกับที่พบบนดาวพฤหัส
ลมที่พัดบนดาวเสาร์มีความเร็วลมสูง ในบริเวณศูนย์สูตร อาจมีความเร็วลมถึง 500 เมตรต่อวินาที (1,100 ไมล์ต่อชั่วโมง)
วงแหวน 2 วง (A และ B) และ วงแหวนจางๆอีก 1 วง (C) สามารถสังเกตได้จากบนพื้นโลก ช่องว่างระหว่างวงแหวน A และ B เรียกว่า Casini division และช่องว่างจางๆที่ส่วนนอกของวงแหวน A ที่เรียกว่า Encke division ภาพถ่ายที่ได้จากยาน Voyager แสดงให้เห็นวงแหวนจางๆอีก 4 วง วงแหวนของดาวเสาร์ซึ่งไม่เหมือนวงแหวนของดาวเคราะห์อื่นๆเพราะมีความสว่างมาก
วงแหวนที่ล้อมรอบดาวเสาร์ทำให้ดาวเสาร์เป็นดาวที่สวยที่สุดดวงหนึ่งในระบบสุริยะ เมื่อมองวงแหวนของดาวเสาร์จากพื้นโลก จะเห็นวงแหวนประกอบด้วยชิ้นส่วนขนาดเล็กที่เป็นอิสระล่องลอยอยู่ในวงโคจร วัตถุเหล่านี้มีขนาดตั้งแต่ระดับเซ็นติเมตรจนถึงหลายเมตร และบางชิ้นมีขนาดสองสามกิโลเมตร
วงแหวนของดาวเสาร์มีความหนาบางมากเมื่อเทียบกับเส้นผ่าศูนย์กลาง วงแหวนมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 250,000 กิโลเมตร แต่มีความหนาเพียง 1.5 กิโลเมตร วงแหวนเหล่านี้ประกอบด้วยวัตถุจำนวนไม่มากนัก ถ้ารวมวัตถุที่ประกอบขึ้นเป็นวงแหวนจะได้วัตถุที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 100 กิโลเมตร
วงแหวนประกอบด้วยน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ และบางส่วนที่เป็นหินที่มีน้ำแข็งหุ้มอยู่
วงแหวน F ซึ่งเป็นวงแหวนชั้นนอกสุด ยังประกอบด้วยวงแหวนขนาดเล็กอีกหลายวง
จุดกำเนิดของวงแหวนยังไม่เป็นที่ทราบกัน แต่คาดว่าน่าจะมีการกำเนิดในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน คือเป็นชิ้นส่วนที่ได้จากการแตกของดาวบริวารขนาดใหญ่ที่ถูกชนด้วยอุกาบาตหรือดาวหาง
ในยามค่ำคืนบนท้องฟ้า ดาวเสาร์สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ถึงแม้ว่าดาวเสาร์จะไม่สว่างไสวเหมือนดาวพฤหัส แต่ก็อาจสัวเกตุเห็นได้จากการที่ดาวเสาร์ไม่มีแสงกระพริบเหมือนดวงดางอื่นๆในท้องฟ้า วงแหวนและดาวบริวารสามารมองเห็นได้โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก
ดาวเสาร์มีดาวบริวาร 18 ดวง ซึ่งมากที่สุดในดาวเคราะห์ทั้งหลายในระบบสุริยะ และในปี 1995 นักวิทยาศาสตร์ใช้กล้องโทรทรรศน์ Hubble พบวัตถุ 4 ชิ้นที่คาดว่าอาจเป็นบริวารใหม่ของดาวเสา

8516

ดาวเสาร์เป็นตัวแทนของเทพแซทเทิร์น (Saturn) เทพแห่งการเพาะปลูกในตำนานโรมัน ซึ่งความเชื่อตาตำนานกรีกมีชื่อเวลา เทพโครนอส (Cronos) อันเป็นบิดาของ ซูส (Zeus หรือ Jupiter) เทพแห่งดาวพฤหัสบดี

ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ออกมาเป็นอันดับที่ 6 ที่ระยะทางประมาณ 10 เท่าของระยะระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ หรือ 2 เท่าของขนาดวงโคจรของดาวพฤหัสบดี ที่ระยะนี้ พลังงานจากดวงอาทิตย์แผ่มาถึงเพียง 1.1% ของพลังงานที่แผ่มาถึงโลกเท่านั้น หากสังเกตดาวเสาร์ด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก เราจะได้เห็นวงแหวนของดาวเสาร์ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักดูดาวว่าเป็นวงแหวนที่สวยงามและโดดเด่นที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ที่มีวงแหวนทุกดวง

ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ก๊าซที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองรองจากดาวพฤหัสบดี โดยมีขนาดเล็กกว่าดาวพฤหัสบดีประมาณ 1 ใน 5 แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีขนาดใหญ่กว่าโลกกว่า 9 เท่า และมีปริมาตรที่สามารถบรรจุโลกไว้ได้ถึง 763 ดวง

องค์ประกอบหลักของดาวเสาร์ คือ ไฮโดรเจน 75% และฮีเลียม 25% และองค์ประกอบย่อยต่างๆในอัตราส่วนที่คล้ายกับดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์มีความหนาแน่นเฉลี่ยทั้งดวงต่ำที่สุดในระบบสุริยะ โดยมีความหนาแน่นเฉลี่ยประมาณ 0.7กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร เท่านั้น นั่นคือ ดาวเสาร์จะลอยน้ำได้ (หากเรามีอ่างน้ำที่ใหญ่พอสำหรับดาวเสาร์)

ดาวเสาร์หมุนรอบตัวเองหนึ่งรอบในเวลา 10.7ชั่วโมง ทำให้ดาวเสาร์มีลักษณะกลมแป้น โดยมีขนาดที่เส้นศูนย์สูตรและที่ขั้วของดาว 120,536 และ 108,728 กิโลเมตร ตามลำดับ (แป้นกว่าดาวพฤหัสบดีเล็กน้อย)

ดาวเสาร์ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์รอบหนึ่ง 29.5 ปี แม้จะนานกว่าหนึ่งในสามของชั่วชีวิตผู้คนส่วนใหญ่ แต่นักดาราศาสตร์ตั้งแต่สมัยของชาวแอสซีเรียและบาบิโลน (ประมาณ 800 ปีก่อนคริสตกาล) ก็ยังสามารถติดตามการเคลื่อนที่ของดาวเสาร์สืบต่อกันมาเรื่อยๆและทราบว่าดาวเสาร์ก็เป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง
-----------------------------------------------------------------------------------------------