วรนารี เฉลิม

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ดาวเสาร์

 ดาวเสาร์ (Saturn)  
             ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่มีความสวยงาม จากวงแหวนที่ล้อมรอบ เมื่อดูในกล้องโทรทรรศน์จะเห็นวงแหวน ซึ่งทำให้ดาวเสาร์มีลักษณะแปลกกว่าดาวดวงอื่นๆ ดาวเสาร์มีองค์ประกอบคล้ายดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ก๊าซที่มีลมพายุพัดแรงความเร็วถึง 1,125 ไมล์ต่อชั่วโมง มีขนาดใหญ่รองจากดาวพฤหัสบดี ถ้านับวงแหวนเข้าไปด้วย จะมีขนาดเท่าดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นน้อยที่สุด กล่าวคือมีความหนาแน่นเพียง 0.7 กรัมต่อลูกบาศก์ เซนติเมตร ซึ่งน้อยกว่าความหนาแน่นของน้ำ ดังนั้นหากมีน้ำจำนวนมากรองรับ ดาวเสาร์ก็จะลอยน้ำได้ เนื่องจากดาวเสาร์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 2 เท่าของระยะดาวพฤหัสบดีจากดวงอาทิตย์ จึงใช้เวลานานเกือบ 30 ปีในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ แต่ดาวเสาร์หมุนรอบตัวเองเร็วมาก จึงทำให้โป่งออกทางด้านข้างมากกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่น สามารถสังเกตได้แม้ในภาพถ่ายขนาดเล็ก
 
             วงแหวนของดาวเสาร์เป็นก้อนหินและน้ำแข็งสกปรก กล่าวคือ น้ำแข็งช่วยยึดฝุ่นและก้อนหินสกปรกเข้าด้วยกัน ก้อนน้ำแข็งสกปรกมีขนาดต่างๆ กัน และมีเป็นจำนวนมาก น้ำแข็งสะท้อนแสงดวงอาทิตย์ได้ดี เราจึงเห็นวงแหวนชัดเจน วงแหวนบางมาก และประกอบด้วยวงแหวนจำนวนหลายพันวง แต่สังเกตได้จากโลกเห็นเป็นชั้นๆ ชั้นนอกสุด เรียกว่า วงแหวน A วงสว่างที่สุดอยู่ใกล้ดาวเสาร์เรียกว่า วงแหวน B ช่องว่างระหว่างวงแหวนทั้งสองนี้เรียกว่า ช่องแคสสินี (Cassini Division) ซึ่งตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์ชาวอิตาลิ Giovani Cassini ซึ่งพบวงแหวนนี้เป็นคนแรกในปี 1675 ภายในวงแหวน B มีวงแหวนที่ไม่สว่างชื่อวงแหวน C ภาพจากการถ่ายของยานไพโอเนียร์และวอยาเจอร์แสดงให้เห็นว่า มีวงแหวนมากกว่าสามวง คือมีวงแหวน D ซึ่งมองเห็นเลือนๆ นอกจากนี้ยังมีวงแหวนชั้นนอกที่มีลักษณะแคบๆ เรียกว่าวงแหวน F และวงแหวน G ด้านหลังของวงแหวนทั้งสองนี้เป็นวงแหวนขนาดกว้าง แต่มีความเลือนคือ วงแหวน E วงแหวนทั้งหมดจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 375,000 ไมล์ วงแหวนแต่ละวงบางมากเมื่อเทียบกับความกว้าง เปรียจประดุจดังแผ่นกระดาษ ดังนั้นเมื่อด้านข้างของวงแหวนหันมาทางโลก เราจึงมองไม่เห็นวงแหวนของดาวเสาร์ วงแหวนดาวเสาร์เอียงจากระนาบทางโคจรของดาวเสาร์รอบดวงอาทิตย์เป็นมุม 27 องศา เมื่อดูจากโลกจึงเห็นวงแหวนไม่เหมือนกันในแต่ละตำแหน่ง ถ้าวงแหวนหันด้านข้างมาทางโลกเราจะมองไม่เห็นวงแหวนเลย แต่จะเห็นเป็นเส้นสีดำพาดผ่านดาวเสาร์ ยานอวกาศวอยเอเจอร์ 1 และวอยเอเจอร์ 2 ที่ผ่านเฉียดดาวเสาร์พบว่า วงแหวนของดาวเสาร์ด้านที่ได้รับแสงแดดมีอุณหภูมิ -180 องศาเซลเซียส ส่วนด้านมืดอุณหภูมิต่ำกว่านี้เป็น -200 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำขนาดนี้น้ำแข็งจะไม่ระเหยหรือกลายเป็นไอเลย วงแหวนที่เห็นจากโลกเป็น 3 ชั้นนั้น แท้ที่จริงประกอบด้วยวงแหวนเล็กๆ จำนวนเป็นล้านๆ วง วงแหวนก่อรูปร่างอย่างไรและเมื่อไร? วงแหวน C และ B ได้ก่อตัวเมื่อดาวเสาร์หรือดาวเคราะห์อื่นๆ ในระบบสุริยะเริ่มเกิดขึ้น ดาวเคราะห์ก่อตัวด้วยแก๊ซและอนุภาคที่ลอยในอวกาศ วงแหวนอาจก่อตัวโดยอนุภาคน้ำแข็งที่ตกค้าง วงแหวน A อาจเป็นเศษที่เหลือของดาวบริวารที่เป็นน้ำแข็งของดาวเสาร์ ประมาณ 10 ล้านปีมาแล้ว ดวงจันทร์อาจแตกแยกออกจากกัน ชิ้นส่วนทั้งหมดของดวงจันทร์อาจกระจัดกระจายเป็นวงแหวนกว้าง ในขณะที่มันหมุนรอบดาวเคราะห์
             ก่อนปี 1980 มีคนคิดว่าดาวเสาร์มีดาวบริวารสิบดวง หลังจากนั้นยานวอยาเจอร์ ได้พบดาวบริวารเพิ่มขึ้นอีกหลายดวง ปัจจุบันเราคิดว่าดาวเสาร์มีดาวบริวารอื่นๆ นอกเหนือจากดาวบริวารเหล่านี้ ดาวบริวารชั้นในประกอบขึ้นด้วยน้ำแข็ง และบางดวงก็ประกอบด้วยหิน มันปกคลุมด้วยหินและรอยแตกดาวบริวารชั้นในบางดวงมีการหมุนที่ผิดปกติ ดาวบริวารที่อยู่ใกล้ที่สุดคือ ดาว Inner Shepherd และดาว Outer Shepherd มันจะหมุนรอบแต่ละข้างของวงแหวน F แรงโน้มถ่วงของดาวบริวารมีผลกระทบต่อส่วนของวงแหวน F มันทำให้ลอนบิดเบี้ยวเป็นรูปเกลียวที่ประหลาด มีกลุ่มดาวบริวารชั้นในที่หมุนรอบดาวเสาร์เช่นเดียวกัน บ้างก็หมุนในระยะห่างกัน บ้างก็หมุนใกล้กัน บ้างก็หมุนไปข้างหน้าหรือข้างหลังของดาวอื่น แต่มันไม่ปะทะกัน    ดาวบริวารชั้นนอกดวงแรกของดาวเสาร์ มีชื่อเรียกว่า Titan เป็นดาวบริวารที่ใหญ่เป็นที่สองในระบบสุริยะ ดาว Titan มีชั้นบรรยากาศ มันเป็นสิ่งผิดปกติที่ดาวบริวารถูกล้อมรอบด้วยชั้นของแก๊ซเหมือนกับดาวเคราะห์ ยานวอยาเจอร์ 1 ได้เข้าไปใกล้ดาว Titan เมื่อมันบินผ่านดาวเสาร์ในปี 1980 ภาพที่ถูกส่งกลับมาแสดงให้เห็นว่าถูกปกคลุมด้วยหมอกสีส้ม แต่ไม่สามารถมองเห็นพื้นผิวได้เลย บรรยากาศประกอบด้วยแก๊ซไนโตรเจนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นแก๊ซที่สำคัญในบรรยากาศของโลก เรามีแก๊ซออกซิเจนในโลกด้วย แต่ดาว Titan ไม่มีแก๊ซเหล่านี้ แต่มันมีแก๊ซมีแทนซึ่งเป็นแก๊ซธรรมชาติที่เราใช้สำหรับการหุงต้มในโลก หมอกเกิดจากการตกผลึกของของแหลวสีส้มในบรรยากาศของดาว Titan ของแหลวที่มีสีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อรังสีจากดวงอาทิตย์กระทบกับแก๊ซ พื้นผิวของดาว Titan มีความเย็นมาก เป็นที่เข้าใจกันว่าพื้นผิวอาจปกคลุมด้วยมหาสมุทรของมีเทนแหลว หรือหิมะสีน้ำตาลที่ประกอบขึ้นจากมีเทน ภายในดาว Titan ประกอบด้วยน้ำแข็งซึ่งมีแกนเป็นหิน นักดาราศาสตร์ต้องการค้นหาสิ่งต่างๆ ให้มากกว่านี้เกี่ยวกับดาว Titan ยานอวกาศอาจไปถึงที่นั่นในศตวรรษหน้า มันเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ที่ครั้งหนึ่งโลกของเรามีสภาพคล้ายดาว Titan ถัดจากดาว Titan จะมีบริวารอีกสามดวง ดาวดวงแรกคือ Hyperion ซึ่งเป็นดาวขนาดเล็กประกอบด้วยน้ำแข็งมีรูปร่างคล้ายถั่ว ดาว Hyperion อาจเป็นซากที่เหลือของดาวบริวารดวงใหญ่ที่แตกกระจายออกมา ถัดจากดาว Hyperion คือดาว Iapetus ดาวบริวารประหลาดดวงนี้จะมืดในด้านหนึ่งและสว่างอีกด้านหนึ่ง โดยสีที่เกิดจากหินซึ่งมาจากภายในดาว ดาวบริวารที่อยู่ชั้นนอกที่สุดเรียกว่า Phoebe มันจะหมุนไปรอบๆ Phoebe อาจจะเป็นดาวเคราะห์น้อยซึ่งถูกดึงดูดโดยแรงโน้มถ่วงของดาวเสาร์  


 

 
ภาพดาวเสาร์


 


           ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่รู้จักกันมาตั้งแต่ก่อนยุคประวัติศาสตร์ กาลิเลโอได้ใช้กล้องส่องทางไกลสังเกตดาวเสาร์เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2153 และพบลักษณะที่เป็นวงรี คล้ายกับเป็นดาวเคราะห์ที่มีหูสองข้าง จนกระทั่งในปี พ.ศ.2202 คริสเตียน ฮอยเกนส์ พบว่าเป็นวงแหวนของดาวเสาร์  เป็นที่เชื่อกันว่าดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ ที่มีวงแหวน จนกระทั่งเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้เองที่ได้มีการค้นพบวงแหวนบางๆ รอบดาวยูเรนัส ดาวพฤหัสบดีและดาวเนปจูน

           ดาวเสาร์ถูกเยี่ยมเยือนครั้งแรกโดย ยานไพโอเนียร์ 11 ในปี พ.ศ.2522 ตามด้วยวอยเอเจอร์ 1 วอยเอเจอร์ 2 และยานแคสสินีในปี พ.ศ.2547

           ดาวเสาร์มีองค์ประกอบคล้ายกับดาวพฤหัสบดี คือประกอบไปด้วย ไฮโดรเจน 75% ฮีเลียม 25% ปะปนไปด้วยน้ำ มีเทน แอมโมเนียเพียงเล็กน้อย   โครงสร้างภายในของดาวเสาร์ มีลักษณะคล้ายคลึงกับของดาวพฤหัสบดี ซึ่งมีแกนกลางที่เป็นหินแข็งห่อหุ้มด้วยแมนเทิลชั้นในที่เป็นโลหะไฮโดรเจนและแมนเทิลชั้นนอกที่เป็นไฮโดรเจนและฮีเลียมเหลว

           แถบที่มีความเข้มต่างๆ กันที่ปรากฏบนดาวเสาร์เกิดจากการหมุนรอบตัวเองที่เร็วมากของดาวทำให้เกิดการ หมุนวนของชั้นบรรยากาศที่มีอุณภูมิแตกต่างกันจึงปรากฏเป็นแถบเข้มและจางสลับกันไป
วงแหวนดาวเสาร์
           จากภาพวงแหวนดาวเสาร์ ดูคล้ายกับว่าจะมีลักษณะเป็นแผ่น แท้ที่จริงแล้วประกอบด้วยอนุภาคจำนวนมหาศาล ซึ่งมีวงโคจรอิสระและมีขนาดตั้งแต่เซนติเมตรไปจนหลายร้อยเมตร ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยน้ำแข็ง ปะปนอยู่กับเศษหินเคลือบน้ำแข็ง    วงแหวนของดาวเสาร์บางมาก แม้จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยาวถึง 250,000 กิโลเมตร แต่มีความหนาไม่ถึง 1.5 กิโลเมตร

           วงแหวนแต่ละชั้นมีชื่อเรียกตามอักษรภาษาอังกฤษ  เช่น  วงแหวนสว่าง (A และ B) และวงสลัว (C) สามารถมองเห็นได้จากโลก  ช่องระหว่างวงแหวน  A และ B รู้จักในนาม "ช่องแคสสินี"  (Cassini Division)    เรายังไม่ทราบถึงต้นกำเนิดของวงแหวนดาวเสาร์ บางทีมันอาจกำเนิดจากการแตกสลายของบริวารที่มีขนาดใหญ่กว่า
ดวงจันทร์บริวารของดาวเสาร์
           ดาวเสาร์มีดวงจันทร์บริวารอย่างน้อย 30 ดวง  ดวงจันทร์บริวารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ ไททัน มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธ   ไททันมีชั้นบรรยากาศที่ประกอบด้วยก๊าซไนโตรเจนเป็นส่วนใหญ่  คล้ายคลึงกับชั้นบรรยากาศของโลก  ดังนั้นนักดาราศาสตร์จึงสนใจที่จะศึกษาดวงจันทร์ไททันอย่างละเอียดเพื่อที่จะได้นำมาเปรียบเทียบกับโลก

           ดวงจันทร์บริวารที่มีขนาดรองจากไททันได้แก่  รี ดิโอนี ไออาเพตุส เททิส เอนเซลาดุส และมิมาส  ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยน้ำแข็งและมีหินผสมอยู่เล็กน้อย







ดาวเสาร์ (Saturn)

มวล (กิโลกรัม) มวล (โลก=1)
5.688 x 1026
95.181
รัศมีตามแนวศูนย์สูตร (กิโลเมตร) รัศมีตามแนวศูนย์สูตร (โลก =1)
60,268
9.4494
ความหนาแน่นเฉลี่ย (กรัม/ลูกบาศก์เซ็นติเมตร)
0.69
ระยะห่างเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ (กิโลเมตร) ระยะห่างเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ (โลก =1)
1,429,400,000
9.5388
คาบการหมุนรอบตัวเอง (วัน)
10.233
คาบการหมุนรอบดวงอาทิตย์ (วัน)
29.458
ความเร็วของการหมุนรอบดวงอาทิตย์เฉลี่ย (กิโลเมตร/วินาที)
9.67
แรงดึงดูดที่พื้นผิวบริเวณศูนย์สูตร (เมตร/วินาที2)
9.05
อุณหภูมิที่พื้นผิวเฉลี่ย (เซลเซียส)
-125
ความดันบรรยากาศ (บาร์)
1.4
ส่วนประกอบของบรรยากาศ
ไฮโดรเจน
ฮีเลียม
97%
3%
ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นดวงที่หกและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสอง
ในตำนานของชาวโรมัน Saturn เป็นเทพแห่งการเกษตร หรือในตำนานของกรีกเรียกว่า cronus
ดาวเสาร์เป็นที่รู้จักตั้งแต่ช่วงก่อนประวัติศาสตร์ Galileo เริ่มสังเกตเป็นครั้งแรกโดยใช้กล้องโทรทรรศน์ในปี 1610 วงแหวนของดาวเสาร์เป็นลักษณะเฉพาะที่รู้จักกันดีในระบบสุริยะจนกระทั่ง ปี 1977 ถึงได้มีการค้นพบวงแหวนของดาวยูเรนัส ดาวพฤหัส และดาวเนปจูน
ดาวเสาร์ดูค่อนข้างแบนเมื่อมองจากกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางตามแนวศูนย์สูตรและตามแนวขั้วต่างกันประมาณ 10% (120,536 km vs 108728 km) ซึ่งเป็นผลเนื่องจากการหมุนอย่างรวดเร็วและสถานะที่เป็นของเหลว ดาวเสาร์หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 10 ชั่วโมง 39 นาที ดาวกลุ่มก๊าซทั้งหลายก็มีลักษณะค่อนข้างแบนเช่นกัน แต่ไม่มากเท่ากับที่ดาวเสาร์เป็น
ดาวเสาร์เป็นดาวที่มีความหนาแน่นน้อย มีค่าความถ่วงจำเพาะประมาณ 0.7 ซึ่งน้อยกว่าน้ำ
ดาวเสาร์ประกอบด้วยไฮโดรเจน 75% และ ฮีเลียม 25% มีร่องรอยของน้ำ มีเทน แอมโมเนีย และ หิน ซึ่งมีส่วนประกอบคล้ายกับดาวพฤหัส และเนบิวลาเริ่มแรก
โครงสร้างภายในดาวเสาร์มีลักษณะคล้ายดาวพฤหัส ซึ่งมีแกนกลางเป็นหิน มีชั้นของ liquid metallic hydrogen และชั้นของ molecule hydrogen และพบร่องรอยของน้ำแข็ง
ที่แกนกลางของดาวเสาร์มีอุณหภูมิสูงประมาณ 12,000 K ดาวเสาร์ปลดปล่อยพลังงานสู่จักรวาลมากกว่าพลังงานที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ พลังงานส่วนเกินนี้ได้จากกระบวนการ Kelvin-Helmholtz เช่นเดียวกับทีเกิดในดาวพฤหัส แต่พลังงานนี้ไม่พอที่จะทำให้ดาวเสาร์เกิดการเรืองแสง ดังนั้นจึงต้องมีกระบวนการซึ่งอาจเกิดจากฝนฮีเลียมที่เกิดในดาวเสาร์
แถบสีที่สังเกตเห็นได้บนดาวพฤหัสก็พบได้บนดาวเสาร์ แต่มีความเลือนลางมากกว่า แต่มีความกว้างมากอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร ยังพบลักษณะคล้ายจุดแดงยักษ์และลักษณะอื่นๆบนดาวเสาร์ที่คล้ายกับที่พบบนดาวพฤหัส
ลมที่พัดบนดาวเสาร์มีความเร็วลมสูง ในบริเวณศูนย์สูตร อาจมีความเร็วลมถึง 500 เมตรต่อวินาที (1,100 ไมล์ต่อชั่วโมง)
วงแหวน 2 วง (A และ B) และ วงแหวนจางๆอีก 1 วง (C) สามารถสังเกตได้จากบนพื้นโลก ช่องว่างระหว่างวงแหวน A และ B เรียกว่า Casini division และช่องว่างจางๆที่ส่วนนอกของวงแหวน A ที่เรียกว่า Encke division ภาพถ่ายที่ได้จากยาน Voyager แสดงให้เห็นวงแหวนจางๆอีก 4 วง วงแหวนของดาวเสาร์ซึ่งไม่เหมือนวงแหวนของดาวเคราะห์อื่นๆเพราะมีความสว่างมาก
วงแหวนที่ล้อมรอบดาวเสาร์ทำให้ดาวเสาร์เป็นดาวที่สวยที่สุดดวงหนึ่งในระบบสุริยะ เมื่อมองวงแหวนของดาวเสาร์จากพื้นโลก จะเห็นวงแหวนประกอบด้วยชิ้นส่วนขนาดเล็กที่เป็นอิสระล่องลอยอยู่ในวงโคจร วัตถุเหล่านี้มีขนาดตั้งแต่ระดับเซ็นติเมตรจนถึงหลายเมตร และบางชิ้นมีขนาดสองสามกิโลเมตร
วงแหวนของดาวเสาร์มีความหนาบางมากเมื่อเทียบกับเส้นผ่าศูนย์กลาง วงแหวนมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 250,000 กิโลเมตร แต่มีความหนาเพียง 1.5 กิโลเมตร วงแหวนเหล่านี้ประกอบด้วยวัตถุจำนวนไม่มากนัก ถ้ารวมวัตถุที่ประกอบขึ้นเป็นวงแหวนจะได้วัตถุที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 100 กิโลเมตร
วงแหวนประกอบด้วยน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ และบางส่วนที่เป็นหินที่มีน้ำแข็งหุ้มอยู่
วงแหวน F ซึ่งเป็นวงแหวนชั้นนอกสุด ยังประกอบด้วยวงแหวนขนาดเล็กอีกหลายวง
จุดกำเนิดของวงแหวนยังไม่เป็นที่ทราบกัน แต่คาดว่าน่าจะมีการกำเนิดในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน คือเป็นชิ้นส่วนที่ได้จากการแตกของดาวบริวารขนาดใหญ่ที่ถูกชนด้วยอุกาบาตหรือดาวหาง
ในยามค่ำคืนบนท้องฟ้า ดาวเสาร์สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ถึงแม้ว่าดาวเสาร์จะไม่สว่างไสวเหมือนดาวพฤหัส แต่ก็อาจสัวเกตุเห็นได้จากการที่ดาวเสาร์ไม่มีแสงกระพริบเหมือนดวงดางอื่นๆในท้องฟ้า วงแหวนและดาวบริวารสามารมองเห็นได้โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก
ดาวเสาร์มีดาวบริวาร 18 ดวง ซึ่งมากที่สุดในดาวเคราะห์ทั้งหลายในระบบสุริยะ และในปี 1995 นักวิทยาศาสตร์ใช้กล้องโทรทรรศน์ Hubble พบวัตถุ 4 ชิ้นที่คาดว่าอาจเป็นบริวารใหม่ของดาวเสา

8516

ดาวเสาร์เป็นตัวแทนของเทพแซทเทิร์น (Saturn) เทพแห่งการเพาะปลูกในตำนานโรมัน ซึ่งความเชื่อตาตำนานกรีกมีชื่อเวลา เทพโครนอส (Cronos) อันเป็นบิดาของ ซูส (Zeus หรือ Jupiter) เทพแห่งดาวพฤหัสบดี

ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ออกมาเป็นอันดับที่ 6 ที่ระยะทางประมาณ 10 เท่าของระยะระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ หรือ 2 เท่าของขนาดวงโคจรของดาวพฤหัสบดี ที่ระยะนี้ พลังงานจากดวงอาทิตย์แผ่มาถึงเพียง 1.1% ของพลังงานที่แผ่มาถึงโลกเท่านั้น หากสังเกตดาวเสาร์ด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก เราจะได้เห็นวงแหวนของดาวเสาร์ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักดูดาวว่าเป็นวงแหวนที่สวยงามและโดดเด่นที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ที่มีวงแหวนทุกดวง

ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ก๊าซที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองรองจากดาวพฤหัสบดี โดยมีขนาดเล็กกว่าดาวพฤหัสบดีประมาณ 1 ใน 5 แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีขนาดใหญ่กว่าโลกกว่า 9 เท่า และมีปริมาตรที่สามารถบรรจุโลกไว้ได้ถึง 763 ดวง

องค์ประกอบหลักของดาวเสาร์ คือ ไฮโดรเจน 75% และฮีเลียม 25% และองค์ประกอบย่อยต่างๆในอัตราส่วนที่คล้ายกับดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์มีความหนาแน่นเฉลี่ยทั้งดวงต่ำที่สุดในระบบสุริยะ โดยมีความหนาแน่นเฉลี่ยประมาณ 0.7กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร เท่านั้น นั่นคือ ดาวเสาร์จะลอยน้ำได้ (หากเรามีอ่างน้ำที่ใหญ่พอสำหรับดาวเสาร์)

ดาวเสาร์หมุนรอบตัวเองหนึ่งรอบในเวลา 10.7ชั่วโมง ทำให้ดาวเสาร์มีลักษณะกลมแป้น โดยมีขนาดที่เส้นศูนย์สูตรและที่ขั้วของดาว 120,536 และ 108,728 กิโลเมตร ตามลำดับ (แป้นกว่าดาวพฤหัสบดีเล็กน้อย)

ดาวเสาร์ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์รอบหนึ่ง 29.5 ปี แม้จะนานกว่าหนึ่งในสามของชั่วชีวิตผู้คนส่วนใหญ่ แต่นักดาราศาสตร์ตั้งแต่สมัยของชาวแอสซีเรียและบาบิโลน (ประมาณ 800 ปีก่อนคริสตกาล) ก็ยังสามารถติดตามการเคลื่อนที่ของดาวเสาร์สืบต่อกันมาเรื่อยๆและทราบว่าดาวเสาร์ก็เป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง
-----------------------------------------------------------------------------------------------